วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

การตั้งสาขาของสมาคมสนุ๊กเกอร์

1. หากสมาคมได้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็สามารถจัดให้มีการเล่นการพนันบิลเลียด หรือสนุกเกอร์ที่มีลักษณะคล้ายบิลเลียดได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต แต่ต้องจัดให้มีการเล่นเพื่อความรื่นเริง จำนวนไม่เกิน 5 โต๊ะ โดยสมาคมเก็บค่าเกมตามสมควรได้ และจัดให้มีการเล่นในวันปฏิบัติราชการตามปกติ ระหว่างเวลา 15.00-01.00 น. ของวันรุ่งขึ้น และในวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 11.00-01.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ตลอดจนปฏิบัติตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันบิลเลียด (พ.น. 28) โดยอนุโลม (ตามมาตรา 4 วรรคสอง วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. การพนัน พุทธศักราช 2478 และ ข้อ 13(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ. การพนันฯ) แต่สมาคมจะเปิดสาขาเพื่อตั้งโต๊ะเพิ่มเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่สามารถกระทำได้ 2. เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พบว่ามีผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าเกี่ยวกับการจัดให้มีการเล่นการพนันบิลเลียด หรือการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน เช่น สนุ๊กเกอร์ เป็นต้น ตามมาตรา 4 วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 12 (2) แห่ง พ.ร.บ. การพนัน พุทธศักราช 2478 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความ พ.ร.บ.การพนันฯข้อ 13 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2534) ฯ ให้ดำเนินการดังนี้ (1) แจ้งข้อหา (2) จับกุมผู้ต้องหากระทำความผิด ตามมาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (3) ยึดของกลาง (ทรัพย์สินที่พนันกัน ซึ่งจับได้ในวงการเล่น และเครื่องมือที่ใช้ในการเล่น ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. การพนันฯ) (4) ถ่ายรูป (ถ้ามีกล้อง) (5) บันทึกการจับกุม แล้วให้ผู้ต้องหาเซ็นชื่อรับทราบ (6) นำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน (7) ให้พนักงานสอบสวนเซ็นชื่อรับผู้ต้องหาและของกลาง พร้อมทั้งลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เพี่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: