วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

การนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน

หลักเกณฑ์ ขั้นตอน การสั่ง นำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน ก่อนอื่นขอให้พิจารณาถึงคำจำกัดความของคำว่า “อาวุธปืน” และ “สิ่งเทียมอาวุธปืน” ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ก่อนดังนี้ “อาวุธปืน” หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรือัดลมหรือกลไกอย่างใด ซึ่งอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง “สิ่งเทียมอาวุธปืน” หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน จากคำจำกัดความดังกล่าว สิ่งเทียมอาวุธปืนจึงน่าจะมีกลไกแบบอาวุธปืน แต่มีรูปร่างลักษณะคล้ายอาวุธปืน จนน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการสั่ง นำเข้าเพื่อการประดับตกแต่ง หรือเพื่อการแสดง หากสิ่งที่สั่ง นำเข้ามีรูปลักษณะและเครื่องกลไกอย่างอาวุธปืน น่าจะไม่ใช่สิ่งเทียมอาวุธปืน แต่เป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเล่น WAR GAME PAINTBALL ถือเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 สำหับ BB GUN ที่มีการนิยมเล่นกันในขณะนี้ เห็นว่ามีรูปลักษณะและเครื่องกลไกอย่างอาวุธปืนทุกประการ ซึ่งกรมการปกครองจะแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การสั่งนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน สรุปได้ดังนี้ 1. การสั่งนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืนส่วนตัว เอกสารประกอบคำขอ - บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวของพนักงานองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พร้อมสำเนา - ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา - หลักฐานการประกอบอาชีพ รายได้ หลักทรัพย์ พร้อมสำเนา - รูปแบบสิ่งเทียมอาวุธปืนที่จะขอสั่ง นำเข้า การยื่นคำขอ - ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ขออนุญาตมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณา - บันทึกถ้อยคำผู้ขอสั่ง นำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน เพื่อประกอบการพิจารณาว่ามีวัตถุประสง์เพื่ออะไร จำนวนเท่าใด - รวบรวมเอกสารหลักฐาน เสนอนายทะเบียนท้องที่พิจารณา หากอนุมัติ ฯ ออกใบอนุญาตให้สั่ง นำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน ตามแบบ ป.2 หากไม่อนุมัติ แจ้งผู้ขออนุญาตทราบเป็นหนังสือ พร้อมเหตุผล

ไม่มีความคิดเห็น: