วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

หลักเกณฑ์การเปิดผับ

หลักเกณฑ์การเปิดผับ
พอดีผมเป็นคนชอบเที่ยวครับไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ...สถานที่สำคัญ...เทศกาลงานต่างๆ..แบบแบกเป้ไปส่องโลกอะไรประมาณนั้นก็ชอบและอีกที่ที่ไปบ่อยก็คือ ผับ นั่นเอง..บางครั้งก็ไปดูพี่เสก(www.losofc.com)เพราะเป็นแฟนคลับอย่างเหนียวแน่น จึงได้มีโอกาศเข้าร้านอาหารกึ่งผับบ่อยๆ..และบางครั้งก็เที่ยวกับเพื่อนแถวรัชดา(ซ.4)...ทีนี้ด้วยความที่ไปแบบนี้บ่อยเห็นเจ้าของนี่รวยกันทั้งนั้นจึงมีความคิดอยากจะเปิดบ้างเพื่อนๆหลายคนคงเคยคิดแบบผมมั่งและ...ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าการจะเปิดสถานบันเทิงหรือสถานบริการเนี่ยมีหลักเกณท์อย่างไรบ้าง...
จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. การจดทะเบียนธุรกิจและขออนุญาต
2. การเตรียมสถานที่
1. การจดทะเบียนธุรกิจและการขออนุญาต
มีขั้นตอนดังนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ ร้านอาหารที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ โดยยื่นขอจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร คือ ใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การขออนุญาตจำหน่าย สุรา และบุหรี่ คือ ต้องขออนุญาตจำหน่ายที่กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
สถานที่ขออนุญาต กรมสรรพสามิต 1488 ถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0-241-5600-19
และ 0-2668-6560-89
โทรสาร 0-2241-1029
ค่าธรรมเนียม 1. สุรา ฉบับละ 110 1,650 บาท /ปี
2. ยาสูบ ฉบับละ 20 บาท/ปี (ผมว่าบางทีค่าน้ำร้อนน้ำชารวมเข้าไปก็ราคาเพิ่มขึ้นนะ)
การขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร คือ ต้องขออนุญาตจัดตั้งสถานที่ ที่สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร
สถานที่ขออนุญาตสำนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม 800 บาท/ปี
การขึ้นทะเบียนนายจ้าง คือ การทำธุรกิจที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วันนับจากวันที่มีลูกจ้าง ณ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
สถานที่ขออนุญาตสำนักงานประกันสังคเมเขตพื้นที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่
ภาษีป้ายคือ ผู้เริ่มประกอบธุรกิจร้านอาหารที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้าย ณ สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร นับแต่วันที่เริ่มติดตั้งป้าย
สถานที่ชำระภาษียื่นขอ ณ สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียมภาษี คิดจากเนื้อที่ของป้ายหรือลักษณะของป้าย
2. การเตรียมสถานที่
มีขั้นตอนดังนี้
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร สำหรับคนที่เช่าร้านก็มิมีปัญหาตรงนี้แต่ใครที่จะสร้างใหม่ก็ ต้อง ขออนุญาต ณ สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ก่อนดำเนินการก่อสร้าง
สถานที่ยื่นขอ ยื่นขอ ณ ฝ่ายโยธา สำนักงานเขต ที่ร้านอาหารนั้นตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม 1. ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลง ฉบับละ 10- 20 บาท
2. ค่าธรรมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
ตารางเมตรละ 0.50 4.00 บาท ขึ้นอยู่กับความสูง
หรือจำนวนชั้นของอาคาร
การขอใช้ไฟฟ้า ...ก็ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้านครหลวงให้เขามาติดตั้งให้
การขอใช้น้ำประปา...ก็ยื่นเรื่งอต่อการประปาในเขตที่ตั้งอยู่ให้เขามาติดตั้งให้
และการขออนุญาตในลักษณะพิเศษ กรณีร้านอาหารมีการแสดงดนตรี
หรือการแสดงอื่นๆ ในลักษณะของสถานบริการ
การขออนุญาตตั้งสถานบริการ
สถานบริการ คือ สถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า ดังนี้
1. สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มี และประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ได้แก่ ไนต์คลับ บาร์ ภัตตาคาร เป็นต้น {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ.2509}
2. สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า (ได้แก่ ภัตตาคารที่มีหญิงบำเรอนั่งร่วมโต๊ะปรนนิบัติลูกค้า หรือโรงน้ำชาที่มีเตียงพักผ่อนหลับนอน และมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
3. สถานที่อาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า (ได้แก่ สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการนวดแก่ลูกค้ารวมตลอดถึงร้านตัดผมหรือดัดผมซึ่งมีห้องนวดแก่ลูกค้าด้วย เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
4. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือ การแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง (ได้แก่ ร้านคอฟฟี่ช้อบ ร้านขายอาหารหรือเครื่องดื่มโดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง เป็นต้น) {สถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่ง พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. 2509}
หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ
อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการ ต้อง
1. ไม่อยู่ใกล้ชิดวัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว
2. ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
3. มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก
4. ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายว่าจะไม่อนุญาตให้มีการตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) (2) และ (3) เว้นแต่ สถานบริการที่ได้ขออนุญาตก่อนที่จะมีนโยบายไม่อนุญาตดังกล่าว หรือ เป็นสถานบริการที่ตั้งขึ้นในโรงแรมที่ได้มาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวหรือได้รับบัตรส่งเสริมจาก BOI ซึ่งจะอนุโลมให้ตั้งได้เฉพาะสถานบริการตามมาตรา 3(4) ในโรงแรมดังกล่าวได้ โรงแรมละ 1 แห่ง
ต่างจังหวัด ติดต่อยื่นเรื่องราวขออนุญาตตั้งสถานบริการได้ ที่อำเภอท้องที่ ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ) หรือขอทราบ รายละเอียดได้ที่
1. สำนักงานจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
2. กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โทร. 2211133,2212893 E-mail moi0208@moi.go.th
กทม. ติดต่อที่ สถานีตำรวจท้องที่ หรือ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โทร. 2803188-9
อัตราค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตเกี่ยวกับสถานบริการ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ เก็บเป็นรายปี ดังนี้
1. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1)
1.1 สถานเต้นรำประเภทที่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 1,000 บาท
1.2 สถานเต้นรำประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 500 บาท
1.3 สถานรำวงหรือรองเง็งประเภทที่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 50 บาท
1.4 สถานรำวงหรือรองเง็งประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ ฉบับละ 20 บาท
2. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (2) ฉบับละ 1,000 บาท
3. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (3) ฉบับละ 1,000 บาท
4. ใบแทนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามข้อ 1.1 และ 1.2 ฉบับละ 100 บาท
5. ใบแทนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามข้อ 1.3 และ 1.4 ฉบับละครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ
6. การต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการครั้งละครึ่งหนึ่ง ของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดีครับ เป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดก่อนทำการเปิดสถานบริการ