วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

ขั้นตอนการเปิดร้านเกมส์ เน็ตอย่างถูกต้อง

เริ่มต้น 1. หาที่เช่า ขอหนังสือยินยอมจากเจ้าของให้เช่า พร้อมสำเนาประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน 2. ไปจดทะเบียนพาณิชย์ที่พาณิชย์จังหวัด (กรณีต่างอำเภอไปจดที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด) เอกสารที่ต้องนำไป 1. สำเนาบัตรประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. ค่าธรรมเนียม 50 บาท รอครึ่งชั่วโมงก็เสร็จ 3. เมื่อได้ใบทะเบียนพาณิชย์ ไปขออนุญาติใบเสียภาษีรายได้ ที่สรรพากรประจำเขตที่เราเปิดร้าน (ไม่ต้องกังวลเปิดใหม่เสียขั้นต่ำ 500 บาท ปีต่อไปประเมินจากรายได้และรายได้ แต่ไม่เยอะหรอก) 4. ได้เอกสาร 1. ทะเบียนพาณิชย์ 2.บัตรเสียภาษีรายได้ 3.หนังสือยินยอมเจ้าของอาคารที่เราเช่าพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน 4.หนังสือรับรองของข้าราชการตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป พร้อมสำเนาบัตรข้าราชการ 5. ไปขออนุญาติที่สถานีตำรวจในเขตที่เราเปิดร้าน กรอกข้อมูลต่างๆ ที่เขาเตรียมให้ พร้อมเอกสารต่างๆ ที่กรมตำรวจแจ้งมา 6. จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่จากอำเภอ สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาตรวจที่ร้าน เพื่อออกใบอนุญาติ ถ้าผ่านก็ได้รับใบอนุญาติ แต่ถ้าไม่ได้ก็แก้ไข เช่น เสียงดัง ต้องกั้นกระจก หรือเป็นที่แออัด มืด ห้องน้ำไม่ถูกสุขลักษณะ ก็ต้องแก้ไข แต่ถ้าผู้นำชุมชนไม่อนุญาติ ก็ต้องย้ายสถานที่ครับ 7. เมื่อได้เอกสารครบแล้ว สุดท้ายก็คือ ซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม inwdows, game ให้ถูกต้องทั้งหมด 8. แค่นี้ก็เปิดกิจการได้เลยครับ ทำเรื่องการตลาดต่อไป

การขอ "ใบอนุญาต ป.3"

การขอใบอนุญาต ป.3 ในกรณีที่ใบ ป.3 ซึ่งมีอายุ 6 เดือน หมดอายุแล้ว จะไม่สามารถขอต่ออายุใบ ป.3 ใหม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวสามารถขอใหม่ได้ โดยนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ อาจพิจารณาโดยใช้พยานหลักฐานเดิม ประกอบการพิจารณาหรือนายทะเบียนฯ จะให้ยื่นพยานหลักฐานใหม่ก็ได้ ส่วนการที่นายทะเบียนผู้ออกใบอนุญาต ย้ายออกจากท้องที่รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว ไม่มีผลต่อการพิจารณา เนื่องจากการพิจารณาอนุญาต ป.3 เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนอาวุธปืน มิใช่อำนาจของบุคคลโดยเฉพาะครับ หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมประการใด กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง (วังไชยา) โทร. (02) 282-0775, (02) 281-1224, (02) 356-9584, (02) 356-9548

ขอรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมาย ปืน บีบี กัน

ได้มีการพิจารณาจากคณะกรรมการกฎหมายที่รับผิดชอบแล้ว เป็นอาวุธปืนครับ เมื่อเป็นอาวุธปืน การมีและใช้ หรือการสั่งนำเข้า ก็ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490

การส่งบัญชีทรัพย์สินของผู้สมัคร อบต.

การส่งบัญชีทรัพย์จะอิงรายได้ของ อบต. เป็นหลัก คือ อบต.จะต้องมีรายได้ตั้งแต่ 50 ล้านบาทต่อปี ขึ้นไป จึงจะต้องส่งบัญชีทรัพย์

เปิดร้านขายกระเป๋า Brand name มือสอง

การที่คุณจะเปิดร้านขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ถ้าเป็นของแท้ ไม่ใช่สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ทำเทียมเลียนแบบก็สามารถเปิดร้านได้เลย เพราะไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 , ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2533 ซึ่งได้ให้ คำจำกัดความว่า การขายทอดตลาด หมายถึง การขายโดยเปิดเผยแก่มหาชน ด้วยวิธีให้โอกาสแก่ผู้ประมูลราคา ผู้ใดให้ราคาสูงก็มีสิทธิซื้อทรัพสินนั้นได้ และคำว่า ของเก่า หมายถึง ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย ดังนั้น คุณสามารถเปิดร้านได้โดยไม่ต้องขออนุญาตประกอบการครับ เพียงแต่จดทะเบียนในเรื่องของการเสียภาษีเงินได้เท่านั้น

คนไทยแต่งงานกับคนต่างชาติจะมีผลเกี่ยวกับสัญชาติอย่างไร

การแต่งงานระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ต้องทำตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายไทย หรือตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายของประเทศที่ต้องการจดทะเบียนนั้นก็ได้ ซึ่งกฎหมายไทยการแต่งงานต้อง
1.จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอในไทย หรือต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ2. ถ้าชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ต้องให้พ่อและแม่ของทั้งสองฝ่ายให้ความยินยอม3. ชายและหญิงต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์4. การแต่งงานที่ทำตามกฎหมายต่างประเทศจะได้รับการยอมรับตามกฎหมายไทยด้วย
ข้อจำกัดของการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย บุคคลเหล่านี้จะจดทะเบียนสมรสกันไม่ได้
1. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป หรือลงมา 2. ชายหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา3. ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้4. ชายหรือหญิง จะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้5. หญิงที่เป็นหม้าย เพราะสามีตายหรือหย่าขาดจากสามี ห้ามมิให้ทำการจดทะเบียนสมรสใหม่ภายใน 310 วัน หลังจากวันสิ้นสุดของการสมรส ยกเว้นให้จดทะเบียนสมรสได้ในกรณีคลอดบุตรแล้วภายในระยะเวลา 310 วัน หรือจดทะเบียนสมรสกับสามีเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
สามีเป็นคนไทย ภริยาเป็นต่างชาติ เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วภริยาชาวต่างชาติจะขอสัญชาติไทยได้ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทย มาตรา 9 โดยยื่นขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้อนุมัติ พร้อมยื่นหลักฐานการจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อรัฐมนตรีอนุมัติให้ได้สัญชาติไทยแล้ว ต่อมาแม้หย่าขาดจากการสมรส ภริยาชาวต่างชาติก็ยังคงได้สัญชาติไทยต่อไป
สามีเป็นคนต่างชาติ ภริยาเป็นคนไทย เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว สามีชาวต่างชาติจะขอสัญชาติไทยได้ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทย มาตรา 10 แต่การขอจะยุ่งยากกว่าในกรณีของภริยาที่เป็นต่างชาติ คือ สามีต้องอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี ต้องมีความรู้ภาษาไทยอย่างดี ต้องมีความประพฤติดี ต้องมีอาชีพมีงานทำ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ่อเป็นคนไทย แม่เป็นต่างชาติ ลูกจะได้สัญชาติไทย โดยหลักสายโลหิต ไม่ว่าลูกจะเกิดในหรือนอกประเทศไทย แต่พ่อต้องเป็นพ่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้พ่อตายหลังจากลูกเกิด ลูกก็ยังได้สัญชาติไทย
พ่อเป็นชาวต่างชาติ แม่เป็นคนไทย ลูกจะได้สัญชาติไทยโดยหลักสายโลหิต ไม่ว่าลูกจะเกิดในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าพ่อจะเป็นพ่อที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ลูกก็จะได้สัญชาติไทย กล่าวคือ แม้พ่อกับแม่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกก็ได้สัญชาติไทย และแม้ต่อมาแม่ตาย ลูกก็ยังคงได้สัญชาติไทย
พ่อและแม่เป็นชาวต่างชาติ แต่ลูกเกิดในประเทศไทย ลูกจะได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน แต่มีข้อยกเว้นคือ
1. ลูกจะไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าพ่อหรือแม่อยู่ในประเทศไทยโดยมิถูกต้องตามกฎหมาย หรืออยู่แบบชั่วคราว หรืออยู่โดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้อยู่ได้2. ลูกจะไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าพ่อหรือแม่เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูต สถานกงสุล หรือเป็นลูกจ้างหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์กรระหว่างประเทศ หรือบุคคลในครอบครัวหรือคนรับใช้ของคนดังกล่าว

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ....เป็นอย่างไร

นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เกิดประโยชน์จากความคุ้มครองตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติดังกล่าวพอสมควร ในการที่จะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนจากความเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ หรือแม้แต่การสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ระยะเวลาผ่านมาสิบปีเศษ ทางราชการได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขและจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ให้มีอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น กรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546 สำหรับกรณีเสียชีวิต , กรณีเสียชีวิตภายหลังจากการรักษาพยาบาล , กรณีสุญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ก็ได้มีการปรับแก้จำนวนเงินที่ชดใช้ใหม่
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้ประสบภัยอีกหลายคนที่มิได้รับการชดใช้ หรือไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันหรือเจ้าของรถได้ เช่น กรณีชนแล้วหนี แต่ผู้ประสบภัยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เนื่องจากไม่ทราบว่าตนสามารถเรียกร้องเอาจาก "กองทุนทดแทนประสบภัยจากรถ" ได้ ซึ่งกองทุนนี้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แต่ก่อนที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถและการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ เรามาทบทวนสาระหลักๆ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กันก่อน
ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีบาดเจ็บเป็นค่ารักษาพยาบาล ในกรณีเสียชีวิตเป็นค่าปลงศพ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย / ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) รวมๆแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท
ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย / ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย / ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้
กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามความเป็นจริง ไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่
ความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี
กรณีผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดเอง หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ดังนี้ ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น กล่าวคือ หากบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท หรือเสียชีวิตภายหลังรักษาพยาบาลจะรับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสาร / บุคคลภายนอกรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายกรณีบาดไม่เกิน 50,000 บาทเจ็บ และกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพอย่างถาวร (ทั้งนี้ ผู้ขับขี่รถที่บริษัทรับประกันภัยไว้ต้องเป็นฝ่ายรับผิดตามกฎหมาย) 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา)
อย่างไรจึงจะได้รับความคุ้มครองในกรณีสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพอย่างถาวร ที่จะได้รับจำนวนเงินความคุ้มครอง 80,000 บาท ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
1. ตาบอด 2. หนูหนวก 3. เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด 4. สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ 5. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด 6. จิตพิการอย่างติดตัว 7. ทุพพลภาพอย่างถาวร
การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัย / ทายาทต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อบริษัทประกันภัย / บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฯ หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกรณีไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้ พร้อมหลักฐาน ดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล / สถานพยาบาล 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในบัตรเป็นผู้ประสบภัย 3. สำเนากรมธรรม์ประกันภัย หรือ เครื่องหมายที่แสดงว่ารถมีประกันภัย 4. สำเนาใบมรณะบัตร กรณีเสียชีวิต 5. สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ 6. สำเนาทะเบียน และสำเนาบัตรประจำตัวของทายาทกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคืออะไรกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ
การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯในการยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ ผู้ประสบภัย / ทายาท จะต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ โดยสามารถยื่นคำร้องได้ที่
1.สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรมการประกันภัย 2. สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด 3.สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขตหวังว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์และได้รับความเดือดร้อน ผู้ประสบภัยคงจะเข้าใจถึงความสำคัญของ"กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ" และคงจะได้ทราบถึงวิธีการที่จะขอรับประโยชน์จากกองทุนดังกล่าวแล้วนะครับ